วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ตรวจสุขภาพ ของแม่

พ่อกับแม่ไปตรวจสุขภาพกันที่ Q Medical Center  – อโศก 
  โปรแกรมการตรวจสุขภาพ  ที่ Q Medical Center ราคา 990 บาท ผลการตรวจ
นางธัญญรัตน์ ทองมั่น อายุ 36 เพศหญิง ตรวจวันที่ 14/11/54 
การตรวจความสมบูรณ์ของเลือด 
เซลล์ที่หมุนเวียนอยู่ในระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกายอาจำแนกออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ เม็ดเลือดขาว (leukocytes) เม็ดเลือดแดง (erythrocytes) และเกล็ดเลือด (thrombocytes) หากจำนวนเซลล์ที่นับได้มีมากหรือน้อย หรือมีลักษณะที่ผิดปกติออกไปจะเป็นการบ่งชี้อาการของโรคต่างๆ ได้ 
เลือด เป็นของเหลวที่ไหลเวียนไปตามหลอดเลือดเป็นวงจรไปทั่วร่างกาย เลือดจึงเปรียบเสมือนเป็น “พาหนะ” รับเอาสารแปลกปลอมที่แสดงถึงความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ติดมากับน้ำเลือดนั้นด้วย จึงนับว่าเป็นของเหลวมหัศจรรย์ที่ช่วยให้มนุษย์ (รวมทั้งสัตว์) ดำรงอยู่ได้เป็นปกติสุข ทั้งนี้หากจะแยกตามหน้าที่แล้วจะพบว่า
  1. เลือดเป็นของเหลวแห่งชีวิต (fluid of life) เนื่องจากเลือดทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปแจกจ่ายให้แก่เซลล์ทุกเซลล์ทั่วร่างกาย และรับเอาคาร์บอนไดออกไซด์มาส่งให้ปอด เพื่อปลดปล่อยออกไปนอกร่างกาย เวลาใดที่นำส่งออกซิเจนได้น้อยกว่าปกติ ก็ย่อมจะเกิดปัญหากับสุขภาพ   มากน้อยตามลำดับ เวลาใดที่ส่งออกซิเจนไม่ได้เลย ชีวิตก็ดับลงทันที
  2. เลือดเป็นของเหลวแห่งการเจริญเติบโต (fluid of growth) เลือดทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุ รวมทั้งฮอร์โมนที่ผลิตได้จากต่อมต่างๆ ไปส่งให้เซลล์สร้างความเจริญเติบโตหรือซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ทำให้เกิดมีอวัยวะต่างๆของร่างกายเจริญเติบโตขึ้นตามขนาดและหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์
  3. ลือดเป็นของเหลวแห่งสุขภาพ (fluid of health) หากเซลล์เม็ดเลือดในน้ำเลือดมีขนาดและจำนวนสมบูรณ์แบบครบถ้วนก็จะทำให้ร่างกายมีสุขภาพดี หรือในกรณีที่ร่างกายถูกล่วงล้ำโจมตีโดยสิ่งแปลกปลอมจากภายนอก เช่น เชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา หรือสารพิษต่างๆ หรือสิ่งแปลกปลอมจากภายใน เช่น มีเซลล์กลายพันธุ์เกิดขึ้น (ก่อนเป็นเซลล์มะเร็ง) เซลล์เม็ดเลือดชนิดต่างๆ ก็จะมีวิธีจัดการกับสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้น เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสุขภาพของเจ้าของร่างกายให้เป็นปกติสุขให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
    ฉะนั้น การตรวจสุขภาพในทางการแพทย์ปัจจุบัน นอกจากจะใช้วิธีการซักถามประวัติ  การตรวจด้วยสายตา และการฟังด้วยหูแล้ว การเจาะเลือดตรวจดูค่าต่างๆ ก็มักจะกระทำในลำดับถัดไป 
การตรวจเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว
     จำนวนเม็ดเลือดแดง Red blood cell (RBC) count 
เป็นการนับจำนวนเม็ดเลือดแดงในกระแสเลือด ถ้าจำนวนน้อยก็คือภาวะโลหิตจาง (anemia ) ถ้าจำนวนมากเกินไปเรียก
 ( polycythemia) ปกติจะมีปริมาณ 4.2 - 5.9 million cells/cmm นอกจากจะดูจำนวนแล้วยังดูขนาดของเม็ดเลือดแดง ควาเข็มของ Hemoglobin ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีโลหิตจางเนื่องเสียเลือดจากประจำเดือน ปริมาณเม็ดเลือดแดง   
( 4.00-5.50 ) แม่ได้ 5.24 ปกติ
 จำนวนเม็ดเลือดขาว ปริมาณเม็ดเลือดขาว ( 4.00-10.00 ) แม่ได้ 9.24 ปกติ   
เม็ดเลือดขาว  เราเรียกจำนวนเม็ดเลือดขาวทั้งหมดที่นับได้ว่า Total white count และเนื่องจากเม็ดเลือดขาวทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของภูมิคุ้มกันของร่างกาย  การที่เรามีปริมาณเม็อเลือดขาวน้อยกว่าปกติมากๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อความสามารถในการป้องกันการติดเชื้อของร่างกาย  แต่ในทางตรงกันข้าม  ถ้ามีการตรวจพบจำนวนของเม็ดเลือดขาวที่เพิ่มมากผิดปกติก็ให้สงสัยว่ากำลังมีกระบวนการอักเสบติดเชื้อเกิดขึ้นในร่างกาย

Hemoglobin เป็นส่วนประกอบสำคัญในเม็ดเลือดแดงทำหน้าที่นำ oxygen จากปอดไปยังเนื้อเยื่อและนำ Carbodioxide จากเนื้อเยื่อไปฟอกที่ปอด ค่าปกติจะอยู่ระหว่าง 12-16 gram%พบว่าถ้ามีน้อยถือเป็นภาวะโลหิตจาง สาเหตุเหมือนกับภาวะโลหิตจาง
 ปริมาณฮีโมโกลบิน ( 12.2-16.2 ) แม่ได้ 13.8 ปกติ
Hct (Hemotocrits) หรือ เปอร์เซนต์ของเม็ดเลือดแดงอัดแน่นเทียบกับปริมาตร ของเลือดทั้งหมด ค่านี้ใช้บอกภาวะโลหิตจาง หรือ ข้น ของเลือด

ปกติ คนไทย Hct ต่ำมาก อาจจะต้องพิจารณาให้เลือด ช่วยในบางราย
ถ้าHct สูงมากอาจจะต้อง ระวังโรคที่มีการ สร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นมามากผิดปกติ หรือพวกไข้เลือดออกในระยะช้อค ก็จะมีค่าตัวนี้สูงเนื่องจากน้ำเลือดหนีออกจากเส้นเลือด
ปริมาณเม็ดเลือดแดงอัดแน่น ( 37.7-48.0 ) แม่ได้ 41.4 ปกติ

MCV เป็นการวัดขนาดของเม็ดเลือดแดง เป็นอัตราส่วนระหว่า Hct และเม็ดเลือดแดงค่าปกติจะอยู่ระหว่าง 86-98 femtoliters
 ปริมาณของเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย( 80.-95.0 ) แม่ได้ 79.0 น้อยกว่าเกณฑ์ แปลว่า ถ้าค่า MCV ต่ำกว่า 80 เฟมโตลิตร แสดงว่าเม็ดเลือดแดงของคุณมีขนาดเล็ก   
เม็ดเลือดขนาดเล็กมักเป็นผลของการขาดธาตุเหล็ก
ระวังเรื่องการอ่อนพลีย ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ
น้อยกว่าปกติทำให้ความสามารถในการขนส่งออกซิเจนลดลง 

RBC - Red blood Cell Count ปริมาณเม็ดเลือดแดง ถ้าลดน้อยลงอาจเป็นโรคโลหิตจาง ถ้าเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ อาจเกิดจากภาวพท้องเสีย ขาดน้ำ หรือแผลไฟไหม้ที่กินพื้นที่ผิวหนัง
เม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็กกว่าปกติเล็กน้อย หมอบอกไม่มีผลอะไร

ขาดวิตามินบี 12 หรือโฟเลต) เล็บหักและฉีกง่าย (ขาดธาตุเหล็ก) 
ผมหงอกก่อนวัย (ขาดวิตามินบี 12 หรือโฟเลต)
-  อาการทางระบบประสาท เช่น ชาที่ปลายมือปลายเท้า สมองเสื่อม (ขาดวิตามินบี 12) 
เม็ดเลือดแดงที่มีขนาดเล็กอาจเกิดได้จากขาดธาตุเหล็ก (ซึ่งอาจเกี่ยวกับการบริจาคเลือดถ้าทำเป็นประจำแต่ไม่ได้ทานธาตุเหล็ก แต่ถ้าเพิ่งแค่บริจาคครั้งเดียวอาจไม่อธิบายสาเหตุของการขาดธาตุเหล็กครับ อาจเกิดจากทานอาหารที่มีธาตุเหล็กน้อยรือมีการเสียไปจากสาเหตุอื่นๆ) 

เม็ดเลือดแดงซึ่งทำหน้าที่พาออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงร่างกายแล้วพาคาร์บอนไดออกไซด์กลับมาที่ปอด เม็ดเลือดขาวซึ่งทำหน้าที่ต่อสู้เชื้อโรค และเกล็ดเลือดซึ่งทำหน้าที่ช่วยการแข็งตัวของเลือด 
เซลล์เม็ดเลือดส่วนใหญ่รวมทั้งเม็ดลือดแดงสร้างที่ไขกระดูก โดยร่างกายจะนำธาตุเหล็ก โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุอื่นๆจากอาหารไปสร้างเป็นฮีโมโกลบิน (Hb) ซึ่งจะประกอบกันเข้าเป็นเม็ดเลือดแดง

จำนวนเม็ดเลือดแดงน้อยพบได้ในภาวะ เสียเลือด   ประจำเดือน
* ขาดอาหาร (เช่นขาดธาตุเหล็ก iron, กรดโฟลิก folate, วิตามิน vitamin B12, or vitamin B6)

MCH ย่อมาจาก mean corpuscular hemoglobin แปลว่าน้ำหนักเฉลี่ยของฮีโมโกลบินซึ่งเป็นตัวพาออกซิเจนในเม็ดเลือดหนึ่งเม็ด 
Mean cell hemoglobin (MCH)เป็นการวัดปริมาณ hemoglobin ในแต่ละเซลล์ของเม็ดเลือดแดงหรือเป็นการคำนวณระหว่างปริมาณ hemoglobin และปริมาณเม็ดเลือดแดงค่าปกติ 27 - 32 picograms   ปริมาณฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย  ( 27.0-32.0 ) แม่ได้ 26.3 น้อยกว่าเกณฑ์ แปลว่า เม็ดเลือดแดงมีฮีโมโกลบินน้อยกว่าปกติไปบ้าง ผู้ที่โลหิตจางไม่มาก  เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ วิงเวียน  รู้สึกสมองล้า หลงลืมง่าย ขาดสมาธิในการทำงาน เรียนหนังสือไม่ดีเท่าที่ควร   นอนไม่หลับ   ขาดธาตุเหล็ก
ระดับเล็กน้อย เหล็กที่สะสมในร่างกายพร่องลงหรือขาดไปบ้าง 
มีผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันโรคและการเจ็บป่วย มีผลกระทบต่อระบบการเรียนรู้ บุคลิกภาพ และการเจริญเติบโต  
ทำให้ร่างกายอ่อนแอเป็นโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น  หมอบอกสิ่งที่ควรทำคือ
1 รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กให้มาก ได้แก่กลุ่มเนื้อสัตว์เช่น เลือด ตับ ไข่ และเนื้อสัตว์ทุกชนิด กับกลุ่มอาหารพืช เช่นธัญญพืช ผัก ผลไม้  
2 รับประทาน วิตามินซี.เพื่อช่วยให้ลำไส้ดูดซึมเหล็กได้ดีขึ้น 
 3 หลีกเลี่ยงการรับประทานสารพวกแทนนิน เช่น น้ำชา กาแฟ ใบเมี่ยง พร้อมกับอาหาร เพราะจะทำให้การดูดซึมเหล็กลดลง  
  4 นอกเหนือจากอาหาร อาจใช้วิธีรับประทานธาตุเหล็กในรูปของยาเม็ดก็ได้
   5 รับปราทานอาหารที่ให้วิตามินบี.12 เช่นเนื้อสัตว์ต่างๆอาหารที่ได้จากเนื้อสัตว์ทุกชนิด ไข่ นม  
   6 รับประทานอาหารที่ให้กรดโฟลิก เช่น ผักใบเขียว ส้ม กล้วย ถั่ว ตับ ปัจจุบันนี้มีผู้ผลิตธัญญพืชเสริมด้วยกรดโฟลิกออกจำหน่ายด้วย เรียกว่า fortified cereal 
   7 งดแอลกอฮอล์และยาที่ไม่จำเป็น 
   8 แพทย์อาจพิจารณาให้รับประทานเหล็ก วิตามินบี.12 และกรดโฟลิกเสริมในรูปของยาเม็ด ไม่ควรซื้อยาบำรุงเลือดเองเพราะในกรณีที่เป็นทาลาสซีเมียอยู่อาจมีอันตรายจากเหล็กสะสมในร่างกายได้
   9 ในระหว่างที่ยังมีภาวะโลหิตจาง ควรออกกำลังกายเพียงเท่าที่กำลังของร่างกายจะสู้ไหว ไม่ควรฝึน
ออกกำลังกายมากจนหอบเกินกำลัง ซึ่งอาจทำให้หัวใจล้มเหลวได้ 
10 ลดอาหารรสเค็มจัด
สามารถป้องกันและแก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยการกินอาหารที่ถูกต้อง และการเสริมบำรุงด้วยยาที่เข้าธาตุเหล็ก หรือยาบำรุงโลหิต
โลหิตจางจากการสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง
    1.การสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง อาจจะเกิดจากการขาดสารอาหารที่จำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดง เช่น ขาดธาตุเหล็ก โฟเลต วิตามินบี 12 อาจเกิดจากโรคไขกระดูกฝ่อ โรคที่มีเซลล์มะเร็งในไขกระดูก เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น
   2.ในต่างจังหวัด สาเหตุของภาวะโลหิตจางอาจเกิดจากโรคติดเชื้อหนอนพยาธิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพยาธิปากขอ หรือเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก หรือวิตามินไม่เพียงพอ ก็ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้
   3.สำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์อายุ 15-45 ปี ที่มีภาวะซีดเนื่องจากการเสียธาตุเหล็กออกไปทางเลือดประจำเดือน ควรให้กินยาบำรุงโลหิตวันละ 2-3 เม็ดในช่วงมีประจำเดือน นานประมาณ 1 สัปดาห์ เป็นประจำทุกเดือน  อัตราการสร้างเม็ดเลือดแดงเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นกับปริมาณออกซิเจนในเลือด ถ้าออกซิเจนต่ำ หรือร่างกายสูญเสีย เลือด จะมีผลเร่งให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น
ธาตุเหล็กในอาหาร    
 อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ ตับหมู ตับวัว นม ไข่ ถั่ว เต้าหู้ น้ำลูกพรุน และผักใบเขียว เหล็กในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ถูกดูดซึมได้ดีกว่าประเภทพืชผัก ในนมมีเหล็กน้อยและมีสารพวกฟอสเฟตทำให้ดูดซึมเหล็กได้น้อย เหล็กที่มีในอาหารถูกดูดซึมได้ไม่มาก ดังนั้นผู้ใหญ่ปกติจึงควร รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กประมาณวันละ 10-15 มิลลิกรัม แม้ว่าร่างกายจะต้องการเพียงวันละ1-2 มิลลิกรัม
ภาวะดังกล่าวเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น 1.เลือดได้รับออกซิเจนน้อย2.ดื่มน้ำไม่เพียงพอ 3.ความเครียด 4.พักผ่อนน้อย และ 5.การดื่มชา กาแฟ รวมถึงการสูบบุหรี่
วิธีแก้ไขฟื้นฟู : 1.การออกกำลังกายต่อเนื่อง อย่างน้อย 30 นาที เช่นการเต้นแอโรบิก จะช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น
 2.ดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว ปริมาณน้ำที่เหมาะสม 4 ลิตร
 3.นอนหลับพักผ่อน 6-8 ชั่วโมงต่อวัน
 4.อาหารที่กิน ให้แบ่งเป็นอาหารประเภทกรด (แป้ง น้ำตาล และเนื้อสัตว์) 20% อาหารประเภทเบส (ผักและผลไม้) 80% การกินอาหารในสัดส่วนนี้จะช่วยระบบย่อยอาหารดีขึ้น
ประโยชน์ของเลือดต่อชีวิตมนุษย์ 
๑. ทำหน้าที่ในการหายใจ โดยนำออกซิเจนจากปอดไปสู่เนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซด์จากเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกายมาฟอกที่ปอด 
๒. ทำหน้าที่ลำเลี้ยง เช่น นำอาหารที่ดูดซึมจากลำไส้ฮอร์โมน วิตามิน เกลือแร่ และของเสีย (จากการเผาไหม้ ไปสู่อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย) 
๓. รักษาดุลน้ำ และดุลความเป็นกรดด่างของร่างกาย 
๔. รักษาระดับอุณหภูมิของร่างกาย โดยการกระจายความร้อน 
๕. เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดทำหน้าที่ต่อต้านการติดเชื้อ 
๖. ปัจจัยต่าง ๆ ของการแข็งตัวของเลือดและเกล็ดเลือด มีหน้าที่เกี่ยวกับการห้ามเลือดโดยตรง 

เนื่องจากเลือดและส่วนประกอบต่าง ๆ ของเลือดมีหน้าที่เฉพาะตัว เมื่อผู้ป่วยเสียเลือด หรือเมื่อร่างกายขาดส่วนใดส่วนหนึ่งของเลือดจนทำให้เกิดอาการผิดปกติขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องให้เลือดหรือส่วนประกอบของเลือดส่วนที่ขาดนั้นทดแทนให้เพียงพอปัจจุบัน ยังไม่มีโรงงานผลิตเลือดหรือ ส่วนประกอบของเลือดดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีผู้ที่มีจิตศรัทธาบริจาคเลือด ภายในร่างกายซึ่งเป็นส่วนเกินสำหรับให้ทดแทน มิฉะนั้น ผู้ป่วยที่ขาดเลือดหรือส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของเลือดอาจเสียชีวิตได้
Mean cell hemoglobin concentration (MCHC)เป็นการวัดความเข็มข้นของ hemoglobin 
ความเข้มข้นเฉลี่ยของตัวพาออกซิเจน (ฮีโมโกลบิน) ในเม็ดเลือดแดงหนึ่งเม็ด หรือพูดอีกอย่างว่าคือค่าบอกสัดส่วนของฮีโมโกลบินต่อปริมาตรเม็ดเลือด 
ความเข้มข้นของฮีโมโกลบินโดยเฉลี่ย( 32.0-36.0 ) แม่ได้ 33.3 ปกติ
Red cell distribution width (RDW) คือการวัดความแปรปรวน ของขนาดของเม็ดเลือดแดงในเลือด  วัดความกว้างของการกระจายของขนาดเม็ดเลือดแดง
ภาวะเลือดจาง ( 9.0-15.0 ) แม่ได้14.4 ปกติ 
มีผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันโรคและการเจ็บป่วย มีผลกระทบต่อระบบการเรียนรู้ บุคลิกภาพ และการเจริญเติบโต  
ทำให้ร่างกายอ่อนแอเป็นโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบสำคัญในร่างกาย ถ้าขาดจะมีผลต่อระบบร่างกายหลายอย่าง เช่น ไม่มีแรง อ่อนเพลีย สมองเฉื่อย ที่สำคัญทำให้เกิดโรคโลหิตจาง (Anemia) ได้ เนื่องจากธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง
           ใครที่ไม่อยากขาดธาตุเหล็ก จึงต้องรู้จักเลือกทานอย่างชาญฉลาด
           ความจริงแล้วธาตุเหล็กมีมากในอาหารที่เรา ๆ ท่าน ๆ ทั้งหลายรู้จักคุ้นเคยกันดี ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ธัญพืช หรือผักต่าง ๆ (ฮั่นแน่ กำลังกังวลอยู่ว่าจะหาทานได้ที่ไหนใช่มั้ย ทีนี้ก็สบายใจได้แล้วค่ะ) และถ้ารู้จักเลือกทานในสัดส่วนที่เหมาะสม ก็จะได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอค่ะ
          สำหรับอาหารที่เป็นแหล่งของธาตุเหล็ก ได้แก่ เนื้อสัตว์ ตับหมู ตับวัว เลือดหมู นม ไข่ มันฝรั่ง ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ถั่วชนิดต่าง ๆ รำข้าว ผลไม้สุกตากแห้ง ผักใบเขียว (โดยเฉพาะคะน้าและผักโขม) เป็นต้น
ควรกินวิตามินซีหรืออาหารที่ให้วิตามินซีสูงไปพร้อมกับพืชผักที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ผักกูด ผักแว่น ใบแมงลัก เห็ดฟาง พริกหวาน กะเพราแดง ขึ้นฉ่าย หรือถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ เพื่อช่วยในการดูดซึมและนำไปใช้ได้ดีขึ้น 
แหล่งอาหารของธาตุเหล็ก
การป้องกันไม่ให้ซีดจากการขาดธาตุเหล็กที่ดีที่สุดก็คือ การกินอาหารที่มีธาตุเหล็กให้มากพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยทั่วไปธาตุเหล็กในอาหารจะอยู่ใน  ๒ รูปแบบ คือ สารประกอบฮีม (heme iron) และสารประกอบที่ไม่ใช่ฮีม (nonheme iron) 
ธาตุเหล็กในรูปแบบสารประกอบฮีม พบมากในแหล่งอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ เช่น เลือด ตับ เนื้อสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะเนื้อแดง ร่างกายจะสามารถดูดซึมและนำไปใช้ได้ดี สามารถดูดซึมได้ถึงประมาณร้อยละ ๒๐-๓๐ คนที่มีความต้องการธาตุเหล็กสูงควรกินอาหารประเภทนี้เป็นประจำ สัปดาห์ละ ๑-๒ ครั้ง
สารประกอบธาตุเหล็กที่ไม่ใช่ฮีม พบได้ในอาหารประเภท ธัญพืช แป้ง ไข่ ผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักคะน้า ผักบุ้ง รวมทั้งถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ  แต่ธาตุเหล็กที่ไม่ใช้ฮีม ร่างกายจะดูดซึมธาตุเหล็กไปใช้ได้น้อยกว่าประเภทฮีมมาก กล่าวคือสามารถดูดซึมได้เพียงร้อยละ ๓-๕ เท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากอาหารประเภทนี้ต้องอาศัยกรดเกลือในกระเพาะอาหาร เพื่อช่วยทำให้ธาตุเหล็กออกมาจากอาหารก่อน จากนั้นร่างกายจึงสามารถดูดซึมที่เยื่อบุผิวของลำไส้เล็กได้ 
อย่างไรก็ตาม การดูดซึมสารประกอบธาตุเหล็กที่ไม่ใช่ฮีมนี้จะดียิ่งขึ้นถ้ากินร่วมกับเนื้อสัตว์ หรืออาหารที่มีวิตามินซีสูง จำพวก ฝรั่ง มะละกอ ส้ม เป็นต้น
ในทางตรงกันข้ามสารไฟเตต (phytate) พบในข้าวที่ไม่ได้ขัดสี พืชใบสีเขียวเข้ม ถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วเหลือง และสารแทนนิน ที่พบในน้ำชา กาแฟ จะขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก ดังนั้น ผู้ที่ไม่นิยมกินอาหารเนื้อสัตว์ การรู้จักจัดองค์ประกอบของอาหารที่กินอย่างเหมาะสมจะทำให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กที่ไม่ใช่ฮีมไปใช้ได้ดีขึ้น 
ตัวอย่างการศึกษาพบว่า การกินอาหารประเภทข้าวและผักที่เรากินอยู่เป็นประจำนั้น ถ้าเราไม่ได้กินเนื้อสัตว์เลย หรือกินเนื้อสัตว์น้อยกว่า ๒ ช้อนกินข้าวใน ๑ วัน การดูดซึมธาตุเหล็กที่มีอยู่ในอาหารนั้นจะมีเพียงร้อยละ ๓-๑๐ เท่านั้น แต่ถ้าเรากินเนื้อสัตว์เพิ่มเป็น ๔-๖ ช้อนกินข้าวใน ๑ วัน หรือได้วิตามินซีจากผลไม้ ๒๕-๗๕ มิลลิกรัม เช่น กินฝรั่งประมาณครึ่งลูก การดูดซึมของธาตุเหล็กที่มีอยู่ในข้าวและผักนั้นจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๑๐-๑๒ ยิ่งถ้าเรากินเนื้อสัตว์มากกว่า ๖ ช้อนกินข้าวใน ๑ วัน หรือได้วิตามินซีมากกว่า ๗๕ มิลลิกรัมต่อวัน ธาตุเหล็กจะถูกดูดซึมไปใช้ได้สูงถึงประมาณร้อยละ ๑๕
วิธีที่จะช่วยทำให้ดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีก็คือ ดื่มน้ำส้มหนึ่งแก้วในระหว่างทานอาหารอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงอย่างเช่น เนื้อแดง ปลา เป็ด และไก่ วิธีป้องกันการขาดธาตุเหล็กก็คือ ควรกินเนื้อสัตว์สัปดาห์ละ 3 ครั้ง
รายชื่อผักที่มีธาตุเหล็กสูงสุด 10 อันดับแรก
1. ผักกูด 36.3 มิลลิกรัม/ 100 กรัม
2. ถั่วฟักยาว 26 มิลลิกรัม/ 100 กรัม
3. ผักแว่น 25.2 มิลลิกรัม/ 100 กรัม
4. เห็ดฟาง 22.2 มิลลิกรัม/ 100 กรัม
5. พริกหวาน 17.2 มิลลิกรัม/ 100 กรัม
6. ใบแมงลัก 17.2 มิลลิกรัม/ 100 กรัม
7. ใบกะเพราะ 15.1 มิลลิกรัม/ 100 กรัม
8. ผักเม็ก 11.6 มิลลิกรัม/ 100 กรัม
9. มะกอก (ยอด) 9.9 มิลลิกรัม/ 100 กรัม
10. กระถิน (ยอดอ่อน) 9.2 มิลลิกรัม/ 100 กรัม

สรุป หมอบอกเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวปกติดี มีปริมาณของเม็ดเลือดแดงและ
ปริมาณฮีโมโกลบินในเม็ดเลือด ต่ำกว่าเกณฑ์เพียงเล็กน้อย ไม่เป็นไร 
ช่วงที่มาตรวจอาจนอนน้อย กินยาบางชนิด เช่นยาแก้ปวดหัว เครียด ก็มีผล
การตรวจเม็ดเลือดขาว

WBC (White Blood Cell Count) หรือ ปริมาณเม็ดเลือดขาวทุกชนิด ในเลือดรวมกัน ค่าปกติ จะอยู่ ประมาณ 5000-10000 cell/ml ถ้าจำนวน WBC ต่ำมาก อาจจะเกิดจากโรคที่มีภูมิต้านทานต่ำบางอย่าง หรือ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางประเภท หรือ โรคที่มีการสร้างเม็ดเลือดผิดปกติ เช่น Aplastic Amemia หรือไขกระดูกฝ่อซึ่งจะทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดทุกชนิดลดลงทั้งหมด (ทั้ง เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และเกร็ดเลือด ต่ำหมดทุกตัว)
ถ้าWBC มีจำนวนสูงมาก อาจจะเกิดจากการติดเชื้อพวกแบคทีเรีย แต่จะต้องดูผล การนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาว (Differential Count) ประกอบด้วย

Differential Count การนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาว จะรายงานออกมาเป็น % ของเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ (ดังนั้นรวมกันทั้งหมดทุกชนิดจะต้องได้ 100 (%) พอดี) ตัวสำคัญหลักๆ ดังนี้

 1.นิวโทรฟิล (Neutrophils) สร้างมาจากไขกระดูก ร่างกายใช้กำจัดสิ่งแปลกปลอม มีหน้าที่ทำลายเชื้อ
แบคทีเรีย ถ้าร่างกายมีการติดเชื้อแบคทีเรียหรือได้รับบาดเจ็บ จะทำให้นิวโทรฟิลสูงขึ้น ค่าปกติ ประมาณ 50-60% ถ้าสูงมากเช่น มากกว่า 80% ขี้นไป และโดยเฉพาะถ้า สูงและมีปริมาณWBC รวม มากกว่าหมื่นขึ้นไป จะ
ทำให้นึกถึงภาวะมีการติดเชื้อแบคทีเรีย  ปริมาณเซลล์ต้านแบคทีเรีย  ( 46.5-75.0 ) แม่ได้ 70.7  ปกติ 
 2.ลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) หรือเม็ดน้ำเหลือง มีหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับร่างกาย ต่อสู้การติดเชื้อ
แบคทีเรียเรื้อรังและการติดเชื้อไวรัสเฉียบพลัน ถ้าพบ Lymphocyte ในปริมาณ สัดส่วนสูงขึ้นมามากๆ โดย
เฉพาะร่วมกับ ภาวะเม็ดเลือดขาว(WBC)โดยรวมต่ำลง อาจจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยเฉพาะถ้ามี 
Lymphocyte ที่รูปร่างแปลกๆและตัวโตผิดปกติ ที่เรียกกันว่า Atypical Lymphocyte จำนวนมากร่วมกับ เกล็ดเลือดต่ำ และ Hct สูง จะพบได้บ่อยในผู้ที่เป็นไข้เลือดออก    ปริมาณเซลล์ต้านไวรัส  ( 12.0-44.0 ) แม่ได้ 24.1 ปกติ  Lymphocyte อยู่ในต่อมน้ำเหลือง จะมีหน้าที่สร้าง antibody และทำลายสิ่งแปลกปลอม
  3.โมโนไซต์ (Monocyte) ทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอม และสร้าง antibody ต่อต้านเชื้อโรค
ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อโรคที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งเม็ดเลือดขาวชนิดอื่นทำลายไม่ได้ และสามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ด้วย     ปริมาณเซลล์กำจัดสิ่งแปลกปลอม  ( 0.0-11.2 ) แม่ได้ 3.7  ปกติ 
  4.อีโอซิโนฟิล (Eosinophils)  สร้างมาจากไขกระดูก ทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้ามาในร่างกายและทำลายสารที่เป็นพิษที่ทำให้เกิดการแพ้สารของร่างกาย เช่นโปรตีนในอาหาร ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้  มีหน้าที่ทำลายสารพิษที่ทำให้เกิดอาการแพ้สารของร่างกาย เช่น โปรตีน ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ เป็นต้น และยังช่วยทำให้เลือดคงสภาพเป็นของเหลวอยู่ตลอดเวลาไม่แข็งตัว ปกติไม่ค่อยพบอาจจะพบได้ 1-2% จะพบมีค่าสูงได้บ่อยในภาวะภูมิแพ้ หรือมีพยาธิ 
   ปริมาณเซลล์บ่งภูมิแพ้   ( 0.0-9.5 ) แม่ได้ 1.3 ปกติ
  5. เบโซฟิล (Basophils) มีหน้าที่สร้างสารเฮปาริน (Heparin) ซึ่งเป็นสารป้องกันมิให้เลือดใน
ร่างกายแข็งตัว และ สร้างฮีสตามิน(Histamine) ช่วยขยายผนังของหลอดเลือด จะพบมีค่าสูงในภาวะภูมิต้านทานมีความไวต่อสิ่งกระตุ้น  ทำหน้าที่จับสิ่งแปลกปลอม ทำหน้าที่หลั่งสาร haparin เป็น สารที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด  ( 0.0-2.5 ) แม่ได้ 0.2 ปกติ
การนับจำนวนเกร็ดเลือด (Platelet count) เกร็ดเลือดเป็นเซลล์เม็ดเลือด คล้ายเศษเม็ดเลือดแดง เป็นตัวที่ช่วยในการหยุดไหล ของเลือด เวลาเกิดบาดแผล ช่่วยทำให้เลือดแข็งตัวเมื่อเกิดบาดแผล  -  ปริมาณของเกร็ดเลือดที่มากเกินไปทำให้เกิดการแข็งตัว   ของเลือดได้ง่าย และนำไปสู่การเกิดก้อนลิ่มเลือดอุดตัน   เส้นเลือดได้
  -  ปริมาณของเกร็ดเลือดน้อยเกินไปก็ ทำให้เกิดความ   ผิดปกติในกระบวนการห้ามเลือด เกิดเลือดไหลหยุดช้า หรือเลือดไหลไม่หยุดได้

ปริมาณเกล็ดเลือด Plt Count  ( 150-450 ) แม่ได้ 373 ปกติ 
 การตรวจวัดขนาดโดยเฉลี่ยของเกร็ดเลือด mpv(6.0- 12.0) แม่ได้ 10.4 ปกติ

MPV (Mean Platelet Volume) ขนาดเฉลี่ยของเกล็ดเลือด แปรผันตามการผลิตของเกล็ดเลือด เกล็ดเลือดใหม่จะมีขนาดใหญ่กว่าเกล็ดเลือดเก่า
http://www.health.co.th/Journal3/111%20ObesityTreatment.html   ดีมาก เวปการดูแลสุขภาพ
ผลตรวจปัสสาวะ
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) ของปัสสาวะเป็นการวัดความเข้มข้นของสารละลายในปัสสาวะ จึงมีประโยชน์ในการวัดความสามารถของไตในการควบคุมความเข้มข้นของปัสสาวะที่มีสารต่างๆ ซึ่งไตจะขับออกมา โดยเฉพาะยูเรีย โซเดียม คลอไรด์ ซึ่งเป็นสารที่พบมากในปัสสาวะ และเป็นการวัดความสามารถในการดูดซึมกลับของท่อไต ซึ่งดูดซึมสารต่างๆ รวมทั้งน้ำด้วย
รายละเอียด Spc. Gravity (ความถ่วงจำเพาะ) 
ความหมาย -ถ้า สูงเกินไป อาจจะเกิดจากร่างกายขาดน้ำ เช่นดื่มน้ำน้อย ท้องร่วงรุนแรง 
-ถ้า ต่ำไป อาจจะเกิดจาก กินน้ำมากเกิน ร่างกายจึงกำจัดน้ำออกมาทางปัสสาวะเยอะหรือเป็นโรคที่ทำให้มีปัสสาวะมีน้ำออกมามากผิดปกติ
 เช่น โรคเบาจืด
ค่ามาตรฐาน 1.003-1.035 แม่ได้ 1.005 ปกติ 
รายละเอียด pH
ความหมาย ดูความเป็นกรด ด่าง เป็น กรดพบในภาวะอดอาหาร รับประทานโปรตีนมากไป หรือการติดเชื้อจากยาบางชนิดเป็น ด่าง พบในภาวะกินเจ หรือยาบางชนิด
ค่ามาตรฐาน 4.5-8   แม่ได้ 5.5 ปกติ
§
ภาวะความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ค่าพีเอช (pH) ของปัสสาวะจะแสดงให้เห็นถึงสมรรถภาพของไตในการรักษาสมดุลของระดับไฮโดรเจนไอออน (hydrogen ion) ในเลือดและสารน้ำนอกเซลล์ ปกติการเผาผลาญในระบบของร่างกายให้ผลผลิตที่เป็นกรด ซึ่งถูกขับออกส่วนใหญ่ทางปัสสาวะ มีผลให้พีเอช (pH) เปลี่ยนแปลงไปตามกระบวนการเผาผลาญอาหาร ชนิดของอาหาร โรคและการใช้ยา การวัดพีเอช (pH) ของปัสสาวะจะต้องใช้ปัสสาวะที่ถ่ายใหม่ๆ เพราะถ้าตั้งปัสสาวะทิ้งไว้นานจะเป็นด่างมากจากแอมโมเนียเกิดจากการเปลี่ยนของยูเรียโดยแบคทีเรียที่เจริญขณะตั้งปัสสาวะทิ้งไว้
 การตรวจสภาพการทำงานของไต (Blood Urea Nitrogen and Creatinine)
  Blood Urea Nitrogen (BUN) คือการหาสาร Urea Nitrogen ในเลือดเพื่อดูการทำงานของไต
 ทั้งนี้เนื่องจากยูเรียเป็นผลิตผลสุดท้ายของการเผาผลาญโปรตีน ซึ่งจะถูกขับออกทางไต 
BUN เพิ่มขึ้น พบได้ในกรณีที่มีการสังเคราะห์ยูเรียมากไป โดยอาจมาจากสาเหตุจาก
* การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง
* มีการทำลายของโปรตีนในร่างกายมาก เช่น ภาวะไข้, ติดเชื้อ,ได้รับการผ่าตัดใหญ่
* ระยะหลังของการตั้งครรภ์
* มีภาวะขาดน้ำ เช่น ในคนที่เป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น
BUN( 8.0-20.0 )  แม่ได้ 7.60 น้อยกว่าเกณฑ์ ค่า BUN น้อยกว่าปกติ 
     อาจกินอาหารโปรตีนต่ำเกินไป ร่างกายอาจมีปัญหาการดูดซึมสารอาหาร
     อาจมีปัญหาเกี่ยวกับโรคตับ  
หากกินเนื้อสัตว์มาก ไตก็ต้องทำงานหนัก

2.2 Creatinine (Cr) คือการหาสาร Creatinine ในเลือดเพื่อประเมินสมรรถภาพของไต 
ข้อแนะนำในการปฏิบัติตน ในกรณีที่มีค่า BUN และ Creatinine สูงกว่าปกติ
* ควรลดอาหารที่มีรสเค็มจัด
* หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง
* ควรปรึกษาแพทย์
สมรรถภาพของไต ( 0.50.-1.50 )  แม่ได้ 0.55 ปกติ
2.3 ตรวจระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด (Cholesterol) คือการหาค่า Cholesterol ซึ่งเป็นไขมันที่ได้ มาจาก
การรับประทานอาหารและร่างกายสร้างขึ้นเองบางส่วน Cholesterol เป็นสารสำคัญสำหรับร่างกายแต่ถ้ามีมาก
เกินไป จะทำให้มีการพอกของไขมันในหลอดเลือด และอวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ

 โคเลสเตอรอล( 200 )  แม่ได้ 233 มากเกินไป

ไขมันในเลือดสูงหรือโคเลสเตอรอลในเลือดสูง  โรคนี้มักจะไม่มีอาการหรืออาการแสดงให้เห็น จากการศึกษาพบและยืนยันว่า ภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูงนี้ เป็นสาเหตุทำให้หลอดเลือดแดงแข็งและตีบและต่อมาจะทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด (เจ็บแน่นที่อกกล้ามเนื้อหัวใจตาย เสียชีวิตอย่างฉับพลัน) หรือเกิดโรคสมองขาดเลือด(อัมพาต อัมพฤกษ์)
โคเลสเตอรอลในเลือด เป็นไขมันชนิดหนึ่งในร่างกายได้มาจาก การเผาผลาญอาหารที่รับประทานมากเกินไป หรืออาหารพวกไขมัน อีกส่วนหนึ่งได้มาจากร่างกายสังเคราะห์ขึ้นมาใช้เอง และยังเหลือเก็บสะสมเป็นพลังงานสำรองไว้ใช้ในโอกาสต่อไป
1. โคเลสเตอรอล ชนิดให้โทษ เรียก แอลดีแอล LDL ถ้ามีระดับสูงมากในเลือด จะนำโคเลสเตอรอลไปจับสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย ทำให้หลอดเลือดแดงแข็งและตีบแคบ ภาวะนี้จะไม่มีอาการรบกวนใด ๆ ทั้งสิ้น จะดำเนินอยู่นานเป็นสิบปีจนกระทั่งหลอดเลือดแดงตีบและอุดตัน จึงจะเกิดอาการต่าง ๆ ดังกล่าว
ของแม่มี  LDL ที่ระดับสูงมากในเลือด( น้อยกว่า150 ) แม่มี 173 
2. โคเลสเตอรอล ชนิดให้คุณประโยชน์ เรียน เฮชดีแอล HDL ทำหน้าที่จับสารโคเลสเตอรอลตามผนังหลอดเลือดเอาไปทำลายที่ตับ จากการศึกาษวิจัยพบว่าบุคคลที่มีระดับ เฮชดีแอลในเลือดสูงมักจะมีอายุยืนยาวกว่าผู้ที่มีระดับ เฮชดีแอลในเลือดต่ำ ปัจจุบันเชื่อว่า "เฮชดีแอลช่วยป้องกันการเกิดหลอดเลือดแดงแข็งและตีบแคบ"ไขมันในเลือดผิดปกติ ของแม่มี เฮชดีแอลในเลือดต่ำ ( มากกว่า 50 ) แม่มี 43 
ทำให้มีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือด สมองขาดเลือด จนเป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม ฯลฯ ภาวะไขมันในเลือดผิดปกตินี้ จะดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีอาการอะไร จนกระทั่งถึงจุดสุดท้ายที่ทำให้เกิดอาการของโรคต่าง ๆ ที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง รับประทานอาหารไขมันมาก ไม่ค่อยออกกำลัง
อันตรายที่เกิดขึ้นจากภาวะไขมันในเลือดสูง
1.ไขมันส่วนเกินจะไปตกตะกอนตามผนังของเส้นเลือด ทำให้ผนังเส้นเลือดหนา และแข็ง จะทำให้ตีบตันได้ง่าย ถ้าเป็นที่เส้นเลือดหัวใจทำให้เกิดหัวใจขาดเลือด 
2. ถ้าเป็นที่เส้นเลือดที่เลี้ยงสมอง ทำให้เส้นเลือดตีบตันเกิดอัมพาต
3.เส้นเลือดไปเลี้ยงบริเวณขาไม่พอ ทำให้เวลาเดินแล้วปวดน่อง
4. ตับอ่อนอักเสบ 

ระดับTotal Cholesterol
น้อยกว่า 200 mg/dL"ระดับไขมันที่ต้องการ" ไขมันระดับนี้จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจต่ำ ค่าที่มากกว่า 200 มก.%จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
200 - 239 mg/dL"ความเสี่ยงปานกลาง."
240 mg/dL and above"ความเสี่ยงสูง" ผู้ที่มีไขมันระดับนี้จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจเป็น 2 เท่าของผู้ที่มีไขมันต่ำกว่า 200มก.%L.
ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจมี 5 ข้อ
  • อายุ :ชายมากกว่า 45,หญิงอายุมากกว่า 55 ปี
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจมาก่อน (ชายก่อนอายุ 55 หญิงก่อนอายุ 65 ปี)
  • เป็นความดันโลหิตสูง
  • สูบบุหรี่
  • ค่า HDL<40 มก./ดล
  • ลดอาหารไขมันอิ่มตัวให้น้อยกว่า 10%ของปริมานไขมันทั้งหมด
  • ลดอาหารที่มีไขมันให้น้อยกว่า30%ของพลังทั้งหมดที่ได้ในแต่ละวัน
  • ทานอาหารที่มีกาก
  • คุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
เป็นไขมันที่ประด้วยกรดไขมัน 3 ชนิดรวมกัน Triglyceride มาจาก
  • จากอาหารที่เรารับประทาน
  • จากการสร้างในตับ
2.4 ตรวจระดับไขมันไทรกรีเซอไรด์ (Triglyceride) คือ ไขมันที่ได้จากการรับประทานอาหารและการ สร้างขึ้นเอง
ในร่างกาย เมื่อถูกเผาผลาญจะให้พลังงานมาก ระดับ Triglyceride มักไม่ค่อยคงที่ สูงๆ ต่ำๆ ได้ง่าย ขึ้นอยู่กับ
ปริมาณอาหารที่รับประทาน ในกรณีที่สูงมากๆและเป็นเวลานาน ก็อาจเป็นผลให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบตันได้

ไขมันไทรกรีเซอไรด์( น้อยกว่า150 )  แม่ได้ 125 ปกติ
ข้อควรปฏิบัติเพื่อลดไขมันในเลือด
+ ควบคุมปริมาณอาหารประเภทไขมันสูง เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล เนื้อสัตว์ติดมัน เนย กะทิ เป็นต้น
+ เลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันปริมาณมากๆ หรือถ้าจะใช้ก็ควรใช้น้ำมันจากพืช (เช่น น้ำมันถั่วเหลือง )
+ เพิ่มอาหารที่มีเส้นใยมาก เช่น คะน้า หอมใหญ่ ฝรั่ง ส้ม ฯลฯ
+ งดหรือลดบุหรี่
+ งดเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์
+ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
2.6 ตรวจระดับกรดยูริคในเลือด (Uric Acid) คือ การตรวจหายูริคซึ่งเป็นของเสียที่เป็นผลมาจากการเผาผลาญ สารพิวรีน
(purine) ซึ่งมีมากในเครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก อาหารทะเล ยอดอ่อนของผัก เช่น หน่อไม้ เห็ด แตงกวา ถั่วเกือบ
ทุกชนิด และเกิดจากการสลายตัวของเซลล์ในร่างกาย กรดยูริคที่มีอยู่ในเลือดจะถูกขับออกทางไต ในกรณีที่มี ยูริคมาก
เกินไป จะทำให้ตกผลึกสะสมอยู่ตามข้อ ผิวหนัง ไต และอวัยวะอื่นๆ ทำให้เกิดโรคเก๊าท์ได้ ค่าปกติ 2.2 – 8.1 mg/dl
ข้อควรปฏิบัติ
* งดอาหารที่มีสารพิวรีนสูง เช่น เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก อาหารทะเล ยอดอ่อนของผัก (เช่น หน่อไม้ ชะอม ยอด
ผักโขม เป็นต้น ) เห็ด แตงกวา ถั่วทุกชนิด
* งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
* ดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันการตกผลึกของกรดยูริค
การตรวจหาระดับกรดยูริคในเลือด
                กรดยูริคเป็นสารที่เกิดจากขบวนการทำลายโปรตีนในร่างกาย ปกติโปรตีนส่วนใหญ่จะถูกทำลายเป็นยูเรีย มีส่วนน้อยเป็นยูริค ถ้ากรดยูริคเกิน 7.5  จะตกตะกอนเป็นผลึกรูปเข็มซึ่งจะเป็นพิษต่อเนื้อเยื่อของร่างกาย  ดังนั้นเหตุผลที่สำคัญที่ต้องตรวจระดับกรดยูริค  คือ  เป็นโรคที่พบบ่อยและถ้าปล่อยให้ระดับกรดยูริคสูงอยู่นานหลายปี  จะก่อให้เกิดโรคข้ออักเสบที่เรียกว่าโรคเกาท์ และก่อให้เกิดผลึกในไตทำให้ไตเสื่อมสภาพได้  และยังทำให้หลอดเลือดเสื่อมสภาพเกิดภาวะหลอดเลือดตีบหรือตันได้  
  กรดยูริคในเลือด ( 2.4.-5.7 )  แม่ได้ 5.1 ปกติ
ผู้ที่ตรวจพบภาวะกรดยูริคในเลือดสูง ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ หน่อไม้ กระถิน กะหล่ำดอก ชะอม
1. ให้ดื่มน้ำมาก ๆ จะช่วยขับกรดยูริค ช่วยรักษาสุขภาพของไต และ ป้องกันมิให้เกิดก้อนนิ่วที่ไต
2. งดเว้นอาหารที่ให้พลังงานมาก ได้แก่ ขนมหวานต่าง ๆ อาหารที่มีไขมันมาก เช่น อาหารทอด และ ขนมหวาน ที่มีน้ำตาล และ ไขมันมาก
3. รับประทานอาหารที่มีใยอาหารมาก จะช่วยลดน้ำหนัก
4. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะมีส่วนช่วยให้อาการของโรคเก๊าท์รุนแรงขึ้น
5. งดอาหารที่มีไขมันมาก เพราะไขมันจะขับกรดยูริคน้อยลง เกิดการคั่งของกรดยูริคในเลือดมากขึ้น 


ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมความดันโลหิต  ควบคุมปริมาณโปรตีนที่รับประทานในแต่ละวัน  เพราะปริมาณโปรตีนที่สูงจะทำให้เลือดไปเลี้ยงที่ไตมากขึ้นทำให้ไตทำงานหนัก  และปริมาณโปรตีนยังก่อให้เกิดการคั่งของยูเรียในเลือดมากขึ้น  ทำให้เกิดอาการคลื่นใส้  อาเจียน  ทำให้ไตที่เสื่อมอยู่แล้วมีการเสื่อมมากขึ้น รักษาโดยการฟอกเลือดหรือล้างไตทางเส้นเลือดโดยอาศัยเครื่องไตเทียม  หรือล้างไตทางหน้าท้อง  แต่การรักษาที่ดีที่สุดคือการเปลี่ยนไต  หรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไตซึ่งควรทำกับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายเท่านั้น 

ตรวจการทำงานของตับ 

 เอนไซม์ SGPT หรืออีกชื่อที่เป็นทางการคือ Alanine aminotransferase (ALT) เป็นเอนไซม์ที่มีในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย แต่มีมากในตับและไต พบได้บ้างในหัวใจและกล้ามเนื้อ คนปกติมีระดับ SGPT (ALT) ในเลือดต่ำ เพศชายจะมีระดับ SGPT (ALT) สูงกว่าเพศหญิงเล็กน้อย เด็กแรกเกิดอาจมีระดับ SGPT (ALT) สูงกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากเซลล์ของตับยังพัฒนาไม่เต็มที่ ระดับจะลดลงเป็นปกติเมื่อเด็กอายุ 3 เดือน แต่เมื่อมีภาวะใดก็ตามที่ก่อให้เกิดอันตราย เสียหาย หรือการอักเสบต่อเซลล์ตับจะทำให้มีการปลดปล่อยSGPT (ALT) ออกมาในกระแสเลือดได้เป็นจำนวนมากเช่นเดียวกับ AST (SGOT) แต่ SGPT (ALT) มีความจำเพาะต่อโรคตับมากกว่า AST (SGOT) เมื่อตรวจพบ SGPT (ALT) ในเลือดสูงขึ้นมักจะบ่งชี้ว่ามีความผิดปกติของเซลล์ตับ                       ALT ( 0 - 40 ) แม่ได้ 21 ปกติ

SGOT มีชื่อเรียกเป็นทางการว่าแอสพาร์เทต อะมิโนทรานสเฟอเรส (Aspartate aminotransferase: AST) เป็นเอนไซม์ที่มีในเนื้อเยื่อต่างๆ โดยมีมากในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและตับ ส่วนไต กล้ามเนื้อโครงสร้างและเม็ดเลือดแดงก็มีเอนไซม์นี้แต่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับตับและหัวใจ
SGOT (AST) จะอยู่ในเซลล์ทั้งส่วนไซโตพลาสซึม และไมโตคอนเดรีย ซึ่งต่างจาก ALT ที่มีแต่เฉพาะในไซโตพลาสซึม (cytoplasm) ไม่พบในไมโตคอนเดรีย คนปกติมีระดับ SGOT (AST) ในเลือดต่ำ เมื่อเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่มี SGOT (AST) มากได้รับอันตรายจากการติดเชื้อ สารพิษ หรือการขาดออกซิเจนหล่อเลี้ยง ส่งผลให้มีการรั่วซึมของ SGOT (AST) เข้ากระแสเลือด
ตับเป็นอวัยวะสำคัญซึ่งอยู่บริเวณด้านขวาบนของช่องท้อง และอยู่ใต้กะบังลม ตับมีหน้าที่สำคัญมากมายเช่น ผลิตน้ำดี ซึ่งจัดเป็นหน้าที่หลักของเซลล์ตับ, ควบคุมเมตาบอลิซึมของไขมัน โดยเฉพาะการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์, ผลิตสารที่เป็นปัจจัยการแข็งตัวของเลือด (clotting factors) แปรสภาพสารพิษและยาต่างๆให้อยู่ในรูปที่ร่างกายสามารถขับถ่ายออกไปได้
ปริมาณของ SGOT (AST) จะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับจำนวนเซลล์ที่ได้รับอันตราย โดย SGOT (AST) จะเพิ่มสูงขึ้นในกระแสเลือด การตรวจวัด AST ในเลือดมีประโยชน์ในการตรวจความเสียหายของตับ เนื่องจากการอักเสบ ยาพิษ ตับแข็ง และโรคพิษสุราเรื้อรัง อย่างไรก็ตาม SGOT (AST) ไม่ได้มีความจำเพาะสำหรับตับ อาจจะเพิ่มขึ้นได้จากร่างกายส่วนอื่น ๆได้ด้วย
AST( 0 - 40 ) แม่ได้ 16 ปกติ
อัลคาไลน์ ฟอสฟาเตส (Alkaline phosphatase) เป็นเอนไซม์ที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อเกือบทุกชนิดในร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) พบมากในกระดูก ตับ ไต ลำไส้ และรก มีไอโซเอนไซม์ (isoenzyme) อยู่หลายชนิดALP มีหน้าที่ส่วนหนึ่งในกระบวนการขนส่งไขมันในลำไส้ กระบวนการสร้างกระดูกให้แข็งแรง ด้วยการเพิ่มแคลเซียมให้กระดูก ในซีรัมคนปกติ ALP จะเป็นประเภทที่มาจากตับและกระดูกเป็นส่วนใหญ่ ปัจจัยสำคัญในการกำหนดอัตราส่วนระหว่าง ALP ที่มาจากตับหรือกระดูกก็คืออายุและในบางช่วงอายุ เพศก็มีส่วนในอัตราส่วนดังกล่าว เช่น ALP ในเด็กที่กำลังเจริญเติบโตส่วนมากมาจากกระดูก ส่วน ALP ในหญิงตั้งครรภ์จะมีส่วนที่มาจากรกมากขึ้น

ระดับของ ALP ในเลือดมีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรคตับและโรคกระดูก ในอดีตเชื่อว่า ALP จากเนื่อเยื่อต่าง ๆ ถูกขับออกทางท่อน้ำดีในตับ ถ้าท่อน้ำดีถูกอุดตัน ALP จะล้นเข้าไปในกระแสเลือด ปัจจุบัน พบว่าตับเป็นแหล่งที่สร้าง ALP ด้วย ในภาวะที่มีการอุดตันที่ท่อน้ำดี เซลล์ของตับ (hepatocytes) จะสร้าง ALP มากขึ้น ถ้าการอุดตันเกิดนอกตับ (extrahepatic obstruction) ระดับ ALP ในเลือดจะสูงกว่าถ้าการอุดตันเกิดภายในตับ (intrahepatic obstruction) หลังการผ่าตัดเอาสิ่งอุดตันออกระดับจะลดลงเป็นปกติ
เด็กมีระดับ ALP ที่พิกัดสูงสุดของ ALP ปกติ ในซีรัมของหญิงมีครรภ์ ช่วงสามเดือนก่อนคลอด ALP ส่วนใหญ่มาจากรก ระดับอาจอยู่ที่พิกัดสูงสุดของค่าปกติ ในหญิงมีครรภ์บางราย ค่า ALP จะสูงกว่าค่าปกติ   ALP ( 39 -117 ) แม่ได้ 91 ปกติ

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar)
เป็นการตรวจเพื่อหาโรคเบาหวาน โดยใช้วิธีการตรวจวัดระดับกลูโคส (น้ำตาล) ในเลือf หลังจากอดอาหารมาก่อน อย่างน้อย 8 ชั่วโมง   การมีเบาหวาน หมายถึง มีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ และก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้ ทั้งชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวานขึ้นตา โรคไตจากเบาหวาน และนำไปสู่ภาวะไตวาย ซึ่งต้องอาศัยการรักษาด้วยการฟอกเลือด ซึ่งลำบากไม่น้อย เบาหวานยังก่อให้เกิดโรคของหลอดเลือดสมอง โรคอัมพาต และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และหลอดเลือดของแขนขาตีบ เกิดภาวะแผลหายยาก เนื้อตาย และอาจต้องสูญเสียอวัยวะบางส่วน
ผู้ที่ มีแนวโน้มเป็นเบาหวาน” ควรควบคุมอาหาร ลดน้ำหนัก และติดตามตรวจเลือดบ่อยขึ้น อาจจะปีละ 2-3 ครั้ง
เกณฑ์วินิจฉัยโรคเบาหวาน

คนปกติ
ระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร <100 mg/dl
ระดับน้ำตาล 2 ชม.หลังกินกลูโคส 75 กรัม <140 mg/dl

คนใกล้เป็นเบาหวาน (prediabetes)
ระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร 100-125 mg/dl
ระดับน้ำตาล 2 ชม.หลังกินกลูโคส 75 กรัม 140-199 mg/dl

คนเป็นเบาหวาน (diabetes)
ระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร 126 mg/dl ขึ้นไป
ระดับน้ำตาล 2 ชม.หลังกินกลูโคส 75 กรัม 200 mg/dl ขึ้นไป



กลูโคสเป็นแหล่งพลังงานแห่งแรกสำหรับเซลล์ของร่างกาย ส่วนไขมันในเลือดในรูปของไขมันและน้ำมันเป็นแหล่งสะสมพลังงานของร่างกาย กลูโคสจะถูกลำเลียงจากลำไส้หรือตับไปยังเซลล์ของร่างกายโดยกระแสเลือดและจะถูกทำให้เหมาะสมสำหรับการดูดซึมของเซลล์โดยฮอร์โมนอินซูลินซึ่งถูกผลิตขึ้นที่ตับอ่อน
ค่านี้จะมีความผันผวนตลอดทั้งวัน ระดับกลูโคสจะมีระดับต่ำมากในช่วงเช้า ก่อนการรับประทานอาหารมื้อแรก (เรียกว่า "the fasting level") และจะเพิ่มขึ้นหลังจากรับประทานอาหาร  จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน  อาการกระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะมากและบ่อย อ่อนเพลีย น้ำหนักลด กินเก่งขึ้น ตาพร่ามัว เป็นอาการที่เกิดจากน้ำตาลในเลือดสูง ถ้าสูงมากๆ อาจถึงกับซึมหรือหมดสติได้ ผู้ป่วยเบาหวานที่น้ำตาลในเลือดไม่สูงมาก อาจไม่แสดงอาการเลยก็ได้ ฉะนั้นการตรวจสุขภาพจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเช่น คนอ้วน หญิงมีครรภ์ ผู้หญิงที่คลอดบุตรมีน้ำหนักแรกคลอดเกิน 4 กิโลกรัม และผู้มีญาติพี่น้อง (โดยสายเลือด) เป็นเบาหวาน คนปกติจะมีน้ำตาลในเลือด อยู่ในช่วง 70 - 115 มิลลิกรัม ต่อ เดซิลิตร น้ำตาลในเลือดต้องสูงเกิน 180 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จึงจะออกมาในปัสสาวะให้ตรวจพบได้ ดังนั้นการตรวจปัสสาวะอย่างเดียว เพื่อหาเบาหวานจึงไม่เพียงพอ ต้องใช้การตรวจเลือดดูระดับน้ำตาล
 การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar) ( 70 - 99 ) แม่ได้ 85 ปกติ

คาร์โบไฮเดรต - ข้าว, ข้าวซ้อมมือ, ข้าวกล้อง, ข้าวโพด, ขนมปัง, ขนมปังธัญพืช, ก๋วยเตี๋ยว, ถั่วแดง, เผือก, มัน, มันฝรั่ง, ปาสต้า, และคอร์นเฟลกซ์ต่างๆ
โปรตีน - เนื้อสัตว์ทุกชนิด (เนื้อหมู, เนื้อแดง, ไก่, เป็ด), เนื้อปลา, เครื่องใน, ไข่, นม, เนย, ถั่ว, งา, ลูกบัว, เส้นก๋วยเตี๋ยว ที่ทำจากถั่วเหลือง, ขนมปังธัญพืช, และโยเกิร์ต
ไขมัน - ไขมันจำนวนที่เท่ากันกับโปรตีนหรือคาร์โบไฮเดรตจะให้แคลอรี่มาก กว่าถึง 2 เท่า ส่วนมากอาหารโปรตีนที่มีไขมันปน อยู่ด้วยเป็นจำนวนที่เพียงพอแล้ว ฉะนั้นจึงไม่จำ เป็นต้องหาจากที่อื่นมาเพิ่ม
วิตามิน - ผลไม้, ผักสดแทบทุกชนิด โดยเฉพาะ ผักกะเฉด, ผักตำลึง, ผักขม, และผักบุ้ง อุดมด้วยวิตามินหลาย ชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ นอกจากนั้นยังมีในเนื้อสัตว์, ปลา, นมและถั่ว 
เกลือแร่ - เมื่อตั้งครรภ์ ร่างกายต้องการเกลือแร่โดยเฉพาะเหล็กและแคลเซียมมาก เป็นพิเศษ เพื่อช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ( เม็ดเลือดแดง และ กระดูก ) 
ธาตุเหล็ก: มีในอาหารพวกเนื้อแดง, เนื้อปลา, ถั่วเขียว, ถั่วเหลือง, ใบขี้เหล็ก, ใบตำลึง, ใบชะพลู, เส้นหมี่, น้ำตาลมะพร้าว, ไข่แดง, ใบกระเพรา, ใบคึ่นช่าย, งาดำ, งาขาว, และชะอม 
แคลเซียม: นม, ผักสีเขียว, ผลิตภัณฑ์จากถั่ว, ปลาไส้ตัน, กุ้ง, เผือก, มัน, และเมล็ดทานตะวัน 
นอกจากนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ น้ำดื่มบริสุทธิ์เป็นสิ่งที่ดีที่สุด รองลงมาคือน้ำผล ไม้ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่รู้สึกสดชื่นขึ้น

ไร้พลัง...แต่ไม่ไร้วิธีแก้

ความอ่อนล้า อ่อนแรง เป็นคำที่ใช้อธิบายความรู้สึกของการไร้พลังหรือแรงจูงใจในชีวิต
หลากหลายสาเหตุของความรู้สึกดังกล่าวซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่น การออกแรงมากเกินไป ,ความเครียด ,ความเบื่อหน่าย และการพักผ่อนไม่เพียงพอ แม้ว่าความรู้สึกอ่อนแรงไร้พลังจะเกิดจากสาเหตุหลากหลายประการและมีผลกระทบต่อร่างกายเป็นอย่างมาก แต่ก็ยังมีวิธีลดความรู้สึกดังกล่าวนี้ได้เช่นกันตามที่ The ADAM Encyclopedia ได้เสนอแนะไว้ ดังต่อไปนี้
  • จัดตารางเวลานอนให้ดี และนอนในช่วงเวลาดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ
  • ดื่มน้ำสะอาดปริมาณมากๆ ทุกวัน และรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการหลากหลาย
  • ออกกำลังกายให้เพียงพอ เป็นประจำ และไม่ควรทำงานหรือเข้าสังคมมากเกินไป
  • พยายามเปลี่ยนสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจจะก่อให้เกิดความเครียด
  • ค้นหาวิธีการต่างๆ ที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายจากความเครียด เช่น การทำสมาธิหรือการเล่นโยคะ
  • ปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลเกี่ยวกับการรับประทานวิตามินรวม
  • หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด ,การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์



















สุขภาพผิวดีได้ง่ายๆ ด้วยการกินผลไม้ตระกูลผิวดี วันนี้จะมาดูกันว่า ผลไม้ตระกูลผิวดีนั้นมีอะไรบ้าง

มะพร้าว ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ขาวนวลขึ้น จากภายในสู่ภายนอก เพราะในน้ำมะพร้าวมีเอสโตรเจนอยู่ ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ทำให้ผิวกระชับ ยืดหยุ่น และชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัย น้ำมะพร้าวยังสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์ได้ดี มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ขับของเสีย หรือสารพิษออกจากร่างกาย จึงช่วยให้ผิวพรรณผ่องใส
ฝรั่ง มีวิตามินบี 1, บี 2, บี 6 ธาตุเหล็ก แคลเซียม และวิตามินซี มากกว่าผลไม้อื่นๆ วิตามินซีเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อผิวพรรณเพราะมีส่วนช่วยในการสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอันเป็นสาเหตุของการเกิดริ้วรอยก่อนวัย มีฤทธิ์เป็นไวเทนนิ่งที่ดี ทำให้ผิวเนียนใส
แอปเปิ้ล มอบความชุ่มชื่นสู่ผิวทำให้ผิวแลดูสดใสขึ้น เหมาะกับผิวหน้าที่กร้านแดดกร้านลม นอกจากนี้แอปเปิ้ลยังช่วยลดน้ำหนัก เพราะแอปเปิ้ลหนึ่งผลจะให้พลังงานเพียง 47 แคลลอรี่ มีเอนไซม์ที่จะเผาผลาญสารอาหาร ช่วยทำให้ระบบย่อยและระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น และวิตามินซี บี 5 ธาตุเหล็ก ทองแดง และโปแตสเซียม ที่ช่วยในการเผาผลาญไขมัน และควบคุมปริมาณคอเลสเตอรอลในร่างกายได้อีกด้วย
องุ่น ช่วยเรื่องริ้วรอย ผิวหมองคล้ำ และกระชับผิว กระตุ้นความสดชื่นได้เร็ว เพราะน้ำตาลในองุ่นเป็นน้ำตาลธรรมชาติร่างกายสามารถนำไปใช้ได้เลย ช่วยเร่งในการเผาผลาญในร่างกายมากยิ่งขึ้น น้ำองุ่นสดๆ จะมีแร่ธาตุครบถ้วน ทั้งแคลเซียม ทองแดง กรดโฟลิก เหล็ก แมกนีเซียม แมงกานีส ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม ซิลิคอน และซัลเฟอร์
สับปะรด ช่วยผลัดเซลล์ผิว ลดรอยหมองคล้ำ ช่วยย่อยอาหาร เสริมสร้างการดูดซึมอาหารของร่างกาย และช่วยลดความร้อนของร่างกาาย
ส้ม มีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยให้หน้าใส อ่อนวัย และส้มมีคุณค่าทางอาหารสูงมาก มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก โซเดียม โพแทสเซียม วิตามินเอ วิตามินซี และวิตามินบีรวม เนื้อส้มมีส่วนช่วยให้เจริญอาหาร และวิตามินซีในส้มช่วยรักษาโรคเหงือกและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
มะละกอสุก มีสารเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีสรรพคุณในด้านความงาม เช่น บำรุงผิวพรรณ ลดริ้วรอยก่อนวัยอันควร ชะลอความแก่ ช่วยทำให้ผิวพรรณสดใส ปกป้องผิวจากรังสีอุลตร้าไวโอเลต
ลูกพรุน ลูกพรุนเป็นแหล่งที่ดีของโปแตสเซียม เหล็ก และไฟเบอร์ที่สำคัญ ลูกพรุนช่วยทำให้ผิวสดใส มีเลือดฝาด
 กล้วยหอม มีสารน้ำตาลอยู่ 3 ชนิด คือ ซูโครส ฟรักโทส และกลูโคส ซึ่งให้พลังงานแก่ร่างกายพร้อมนำไปใช้ได้ทันที นอกจากนี้กล้วยหอมยังมีกรดอะมิโนโปรตีนซึ่งร่างกายแปลงเป็น Serotonin เป็นสารกระตุ้นที่ทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย มีความสุขมากยิ่งขึ้น และมีส่วนช่วยทำให้ใบหน้าเปล่งปลั่งมากขึ้นอีกด้วย
อะโวคาโด มีวิตามินอี และมีแอนตี้ออกซิเดนซ์ที่ช่วยบำรุงผิวพรรณและความงามของผู้หญิง นอกจากนี้ยังมีวิตามินบี 1, บี 2, บี 6, ไนอาซีน, โพแตสเซียม, กรดโฟลิก, ฟอสฟอรัส ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และบำรุงผิวให้เต่งตึง สดใส ไร้รอยเหี่ยวย่น
แก้วมังกร มีวิตามินซี คลอโรฟิล เมล็ดของแก้วมังกรอุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัว สามารถต่อต่านปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ช่วยบำรุงสุขภาพผิวพรรณให้สดชื่น
กีวี มีวิตามินซีที่ช่วยในการเสริมสร้างคอลลาเจนที่ดีต่อสุขภาพผิว ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่ผิว ช่วยลบเลือนริ้วรอย ทำให้ผิวพรรณเต่งตึง ลบรอยจุดด่างดำบนใบหน้า เพิ่มความใสให้แก่ผิว
แบล็คเบอร์รี่ มีกรดฟิโนลิก, วิตามินซี และโฟเลตสูงสุด ช่วยเสริมสร้างและฟื้นฟูคอลลาเจนได้ ทำให้ิผิวหนังเราไม่ร่วงโรยก่อนวัยอันควร และมีสารต้านอนุมูลอิสระริ้วรอยเหี่ยวย่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น